สบู่กวนร้อน, สบู่กวนเย็น, สบู่ก้อน, สบู่น้ำมัน, สบู่น้ำมันวิธีทำ, ทำสบู่ handmade, ทำสบู่ diy, ทำสบู่ cp, ทำสบู่ใช้เองง่ายๆ, วิธีทำสบู่ใช้เอง, ทำสบู่เอง, ทำสบู่ใช้เอง pantip, สบู่แฮนด์เมดวิธีทำ
Articles

Trace in Cold Process Soap

Trace in Cold Process Soap คือการดู trace ของเนื้อสบู่ในการทำสบู่กวนเย็นที่เหมาะสมกับการเท ที่นักทำสบู่ทุกคนจะต้องรู้จัก เพราะระยะเวลาที่ใช้ในการกวนสบู่จะส่งผลต่อเนื้อสบู่ ที่มีความข้นหนืดและเหนียวข้นขึ้น การแบ่ง Trace มีเป็น 3 ระยะหลักๆ (Phase) คือ Light Trace, Medium Trace และ Heavy Trace (Thick Trace) แล้วแต่ละ phase จะมีวิธีการสังเกตได้อย่างไรก่อนที่วิเวียนจะอธิบายถึงการดูสบู่ในแต่ละช่วงนั้น อยากให้ทำความเข้าใจถึงปัจจัยหลักของการเร่งเทรซของสบู่ที่มีหลายๆ ส่วนเข้ามาทำปฎิกริยาร่วม การที่เราเทสารละลายด่างกับน้ำมันแล้วกวนให้เข้ากัน เราเรียกว่า Saponification หรือการทำปฎิกริยาของสารละละลายและน้ำมัน ให้เกิดการอีมัลชั่น (Emulsion) เปลี่ยนจากของเหลวที่เป็นน้ำใสๆ กลายเป็นเนื้อสบู่ที่ข้นขึ้น


ส่วนที่สำคัญที่สุดในการช่วยทำปฎิกริยาคืออุณหภูมิ เพราะความร้อนเป็นสิ่งแรกที่จะส่งผลต่อการเร่งเทรซให้เนื้อสบู่เหนียวหรือข้นเร็ว อีกส่วนที่หลายคนนิยมคือการลดเปอร์เซ็นต์ของน้ำ หรือเรียกว่า % Water discount หากยิ่งลดน้ำเยอะก็จะยิ่งส่งผลต่อการเร่งเช่นเดียวกันค่ะ อีกส่วนคือประเภทของกรดไขมัน (น้ำมัน) ที่นำมาตั้งสูตรสบู่เพราะบางตัวจะเร่งทำให้เนื้อสบู่ข้นหรือหนืดเร็วกว่าปกติ เช่น น้ำมันละหุ่ง หรือ caster oil หรือการใส่ส่วนประกอบอื่นๆ (Additive) ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของสบู่ โดยเฉพาะการทำสบู่กวนเย็น เช่นนม น้ำกะทิ น้ำตาล ซึ่งไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำสบู่นะคะ เพราะจะรับมือในการเร่งปฎิกริยาของสบู่ไม่ทัน ดูวิธีการตั้งสูตร

ดูวิธีการทำสบู่แบบง่ายๆ
Soap Making – A cotton blue by NatureDaily

การดูระดับการเทรซของสบู่กวนเย็น มีวิธีดู 3 ระดับ ตามนี้ค่ะ

  1. Light Trace จะเกิดขึ้นหลังจากที่เทน้ำด่างผสมลงในน้ำมัน กวนให้เข้ากันสักระยะหนึ่ง ประมาณ 5-10 นาที ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กล่าวถึงข้างต้น เนื้อสบู่จะเริ่มสะท้อนแสงไฟ มีความเงามากขึ้น เมื่อยกไม้พายหรือช้อน ตักเนื้อสบู่ขึ้นมาแล้วเทให้เนื้อสบู่ไหลลงมาจะไหลลงมาเป็นสาย ไม่เป็นหยดๆ แต่ต้องระวังและดูให้ดีว่าไม่มีส่วนของน้ำมันที่ไม่ถูกทำปฎิกริยาลอยอยู่
  2. Medium Trace เมื่อกวนต่อจาก Light Trace ไปอีกระยะหนึ่ง เนื้อสบู่จะเริ่มหน่วงและหนักขึ้น ข้นขึ้น ลักษณะจะคล้ายน้ำขนมโตเกียวหรือน้ำเครป ถ้ากวนไปจะถึง Medium มากๆ จะคล้ายนมข้นหวาน การสังเกตคือเมื่อยกไม้พายสะบัดเบาจะมีเส้นค้างอยู่ที่หน้าสบู่เป็นชั้นเล็กๆ
  3. Heavy Trace (Thick Trace) หากกวนอย่างต่อเนื่องด้วยตะกร้อมืออาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หากใช้ Stickblender จะใช้เวลาเพียง 5-7 นาทีเท่านั้น เนื้อสบู่จะมีลักษณะข้นหนืด หนัก ไม่รวมตัวกันเมื่อตักขึ้นจะคล้ายมายองเนสเป็นชั้น หากมาถึงเฟสนี้เร็วเกินไปเนื้อสบู่จะร้อนเร็วขึ้น


หากเข้าใจลักษณะของเนื้อแต่ละระยะจะทำให้เข้าใจว่าการทำสบู่จะต้องกวนอย่างไร ถึง phase ไหน ซึ่งการทำลวดลายแต่ละแบบก็ใช้ phase ของสบู่ที่แตกต่างกัน ไปทดลองสังเกตกันดูนะคะ