สบู่ organics
Articles

Type of Organics

Organics (ออร์แกนิค) หรือเกษตรอินทรีย์เป็นการอธิบายถึงวีธีการปลูกพืชที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช การฉายรังสี และไม่ใช่สายพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรม หรือถ้าเป็นการเลี้ยงสัตว์ก็ต้องเลี้ยงโดยห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้นในส่วนของการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถ้าจะเคลมว่าเป็นเครื่องสำอางออร์แกนิค

 ส่วนประกอบในสูตรก็ต้องมาจากวัตถุดิบที่เพาะปลูก/เลี้ยงแบบออร์แกนิคเป็นส่วนใหญ่

สินค้าที่บอกว่าเป็นสินค้า “ออร์แกนิค” สามารถทำได้อย่างไร
องค์กร The Agricultural Marketing Service ของ U.S. Department of Agriculture (USDA) เป็นผู้ดูแลโปรแกรมที่ชื่อว่า National Organic Program (NOP) โดยมีกฎที่เกี่ยวกับออร์แกนิค และสามารถออกใบรับรองออร์แกนิคได้  หากสินค้านั้นเข้าเกณฑ์ของ NOP  ซึ่งในประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถให้การรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคได้

คู่มือทั่วไปการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

สินค้าออร์แกนิคต้องมีเปอร์เซ็นต์ของส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคตามที่กำหนด ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. สินค้ามีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคเกิน 95% ขึ้นไปโดยน้ำหนัก สามารถระบุบนฉลากได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ “ออร์แกนิค”
2. สินค้ามีส่วนประกอบออร์แกนิค 70-95% โดยน้ำหนัก “ไม่”สามารถติดฉลากออร์แกนิคได้ แต่สามารถระบุได้ว่ามีส่วนผสมจากพืชที่เป็นออร์แกนิค และอาจจะบอกว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์
3. มีส่วนประกอบออร์แกนิคน้อยกว่า 70% “ห้าม”ติดฉลากว่าเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคโดยเด็ดขาด

เครื่องสำอางหรือสบู่ออร์แกนิคมีส่วนผสมที่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าเครื่องสำอางทั่วไปหรือไม่
“ไม่” เพราะการที่ส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่ได้จากพืชจะเป็นออร์แกนิคหรือไม่ ไม่ได้ยืนยันถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์  เช่นในพืชหลายชนิดไม่ว่าจะปลูกแบบออร์แกนิคหรือปลูกแบบทั่วไปก็มีสารประกอบที่อาจจะก่อให้เกิดพิษหรือการแพ้ได้เช่นกัน

ในประเทศไทยมีบริการของ มกท. ให้บริการตรวจรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์หลากหลายประเภทตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศที่เหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์ และตลาดเป้าหมายในการส่งออกของคุณ บริการด้านการตรวจรับรองของ มกท. ประกอบด้วย IFOAM Program ,  EU Program ,  COR Program และ ACT-Program

การเลือกว่าจะขอรับรองมาตรฐานอะไรนั้นจะต้องพิจารณาว่า จะขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ไปประเทศอะไร หรือผู้ซื้อน่าจะต้องการมาตรฐานใด ถ้าเป็นตลาดในประเทศไทย หรือในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น จีน เกาหลี และไต้หวัน) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ การขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ใน โปรแกรม ACT-IFOAM ก็น่าจะเพียงพอ  แต่ถ้าจะส่งออกผลผลิตไปในยุโรป ก็จำเป็นต้องขอรับรองใน โปรแกรม ACT-EU   ผู้ประกอบการสามารถเลือกขอรับรองมาตรฐานมากกว่า 1 โปรแกรม ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

ที่มา
Actorganic-cert.or.th
www.fda.gov/Cosmetics/Labeling/Claims
www.foodnavigator-usa.com